วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลักฐานการยื่นขอเปลี่ยนชื่อตัว

กระทรวงมหาดไทย

หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
1. ต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับพระนามของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือเชื้อพระวงศ์
2. ต้องไม่เป็นคำหยาบคาย
3. ต้องไม่มีความหมายไปในทางทุจริต
4. สำหรับผู้ที่เคยได้รับพระราชทานตำแหน่งต่างๆ และไม่ได้ถูกยกเลิกตำแหน่ง สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อตัว และชื่อรองได้

เอกสาร / หลักฐาน
1. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)

แบบฟอร์มคำขอทะเบียนชื่อบุคคล
ขั้นตอนดำเนินการ
1. ยื่นคำขอทะเบียนชื่อบุคคลต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอ ตรวจสอบทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยน
3. สำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง ให้เป็นหลักฐาน
4. สำหรับบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
5. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน
6. หลังจากได้รับหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือไปขอแก้ไขรายชื่อในทะเบียนบ้าน บัตรประจำประชาชน และเอกสารสำคัญต่างที่ยังใช้ชื่อเดิมอยู่ เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น

การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ
- ในกรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้มารดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่มีชื่อเด็กอยู่
- แต่ถ้าให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน บิดาต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับมารดาไปยืนยันด้วย
อัตราค่าธรรมเนียม 50 บาท

สถานที่ยื่นขอเปลี่ยน
สามารถยื่นได้ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่เท่านั้น
- ที่ว่าการอำเภอ
- กิ่งอำเภอ
- สำนักงานเขต

สถานที่ติดต่อสอบถาม
- สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
- สำนักทะเบียนที่สำนักงานเขต
- ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอทั่วประเทศ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

จาก GCC1111 ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน